ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสิงห์บุรี ครั้งที่ 4/2568

เมื่อวันที่ : 30 เม.ย. 2568 10:34
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 1
1 ครั้ง

วันจันทร์ที่ 28 เมษายน 2568 นายทิพเมษฐ์ สังขวรรณะ ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปส. ภาค 1 มอบหมายให้ นางสาวกนกวรรณ สรหงษ์ ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์ข่าวและเฝ้าระวัง และนางสาวเพชรัตน์ บัวทอง นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ เข้าร่วมประชุม ศอ.ปส.จ.สิงห์บุรี ครั้งที่ 4/68 โดยนายวราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เป็นประธานในการประชุมฯ พร้อมด้วย รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสิงห์บุรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมขุนสรรค์ พันเรือง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี โดยสรุปผลการประชุม ดังนี้
1.  ผู้แทน ปปส.ภ.1 นำเสนอสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ ภาค 1 และพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี เปรียบเทียบผู้ต้องหาและของกลางการจับกุมคดีรายสำคัญ ในปีงบประมาณ 2567 และ 2568 รูปแบบการซุกซ่อนยาเสพติด  ราคายาเสพติด การเชื่อมโยงการซื้อขายยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี เป้าหมายและผลการดำเนินงานในด้านปราบปรามในเรื่องการยึด อายัดทรัพย์สิน รวมทั้งนโยบายและที่สำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 
2. ศอ.ปส.จ.สิงห์บุรี. รายงานผลการดำเนินงาน โครงการพิทักษ์ ถิ่นวีรชน คนเมืองสิงห์ ประจำปี 2568
3. หน่วยงานในพื้นที่รายงานผลการดำเนินงานในห้วงเดือน เมษายน 2568
4. ท่านประธานได้สอบถามในประเด็นเรื่องดังต่อไปนี้
1) สถานการณ์ยาเสพติดตามแนวชายแดน ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการแพร่ระบาดของยาเสพติดในจังหวัดสิงห์บุรี
2) โครงการพิทักษ์ ถิ่นวีรชน คนเมืองสิงห์ ประจำปี 2568 มีเป้าหมาย และการดำเนินการอย่างไรบ้าง และหน่วยงานใดร่วมปฏิบัติการบ้าง
3) ในภารกิจงานกองทุนแม่ฯ มีการทำประชุมคมหมู่บ้านหรือไม่ อย่างไร
4) จังหวัดสิงห์บุรี มีเป้าหมายยึดอายัด จำนวน 44 ล้าน ซึ่งในเดือนเมษายน 2568 มีผลการดำเนินงานเพียง  10 ล้านบาทเศษ ซึ่งยังไม่ถึง50 เปอร์เซ็นของเป้าหมาย จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
การตอบข้อซักถามของท่านประธาน
1) ผู้แทน ปปส.ภ.1  ได้นำเสนอสถานการณ์นำเข้ายาเสพติดของไทยภาพรวม สัดส่วนนำเข้ากลับมารุนแรงอย่าง โดยเฉพาะพื้นที่นำเข้าอำเภอชายแดนจากภาคเหนือ ทางอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น กว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในพื้นที่ของภาค 7  นำเข้าทางชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี และนำมาเก็บพักไว้ในภาคกลาง อาทิ พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนนทบุรี แล้วมาแพร่กระจายลงสู่พื้นที่ใกล้เคียง โดยจากการซักข่าวพบว่าตัวยาที่แพร่ระบาดในจังหวัดสิงห์บุรี จะมาจากจังหวัดใกล้เคียงเช่นจังหวัดชัยนาท จังหวัดอ่างทอง จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งทางสำนักงาน ป.ป.ส. ได้มีแผนปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด“SEAL STOP SAFE” ผนึกกำลัง 51 อำเภอชายแดน เพื่อสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน เมื่อพิจารณาเป็นรายพื้นที่ปี 2568 พื้นที่ชายแดน 51 อำเภอ 14 จังหวัด ผลการจับกุม/จับยึดยาเสพติด จำนวนของกลางมากกว่าปี 2567 ทั้งจำนวนคดีและของกลาง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการสกัดกั้นในพื้นที่แนวชายแดนดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าภาพรวมการสกัดกั้นในพื้นที่ชายแดนจะดำเนินการได้ดี แต่เมื่อพิจารณาสัดส่วนการสกัดกั้นในพื้นที่ชั้นในรองจากพื้นที่แนวชายแดนมี จำนวนยาบ้าฯ ในปริมาณมาก เช่นกัน ทำให้ต้องพิจารณามาตรการสกัดกั้นในพื้นที่รองจากพื้นที่แนวชายแดน ให้สอดคล้องกับพฤติการณ์ของกลุ่มลำเลียงที่พยายามใช้เส้นทางสายรองหลบเลี่ยงการจับกุม/ตรวจค้น จากเจ้าหน้าที่
และจากการจับกุมสารเคมีภัณฑ์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด ในปริมาณมากถูกลำเลียงเข้ามายังแหล่งผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยมีแหล่งที่มาจากประเทศจีน และประเทศอินเดีย หากสามารถสกัด/หยุดยั้งสารเคมีตั้งต้น ไม่ให้เข้าสู่แหล่งผลิตยาเสพติดได้ก็สามารถลดการผลิตยาเสพติด โดยเฉพาะ ยาบ้า และไอซ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ผู้แทน ศอ.ปส.จ. นำเสนอโครงการพิทักษ์ ถิ่นวีรชน คนเมืองสิงห์ ประจำปี 2568 โดยมีเป้าหมาย บุคคลในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี อายุ ๑๒-65 ปี ทั้ง 6 อำเภอ โดยกำหนดตำบลเป้าหมายของแต่ละอำเภอ เพื่อค้นหา คัดกรองผู้เสพ ผู้ติด และนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา โดยการบูรณาการร่วมกันของ ฝ่ายปกครอง ตำรวจและสาธารณสุข ซึ่งในเดือนเมษายน 2568 ได้มีการการดำเนินการคัดกรอง ไปจำนวน 1242 คน พบผู้เสพยาเสพติดจำนวน 51 คน อยู่ระหว่างดำเนินการส่งตัวเพื่อเข้ารับการบำบัด
3) ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน ได้ชี้แจงว่า ในภารกิจงานกองทุนแม่ฯ จะต้องมีการทำประชุมคมหมู่บ้าน โดยการเรียกประชุม และแจ้งชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดแบบการหย่นลงในกล่องเป็นความลับ แล้วนำมาให้เปิดดูลายชื่อและทำลายเพื่อไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ เมื่อพบว่ามีบุคลในหมู่บ้านเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ก็จะหารือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครอง เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
4) ผู้แทนสำนักงาน ปปส.ภ.1 เสนอแนะในเรื่องมาตรการยึดทรัพย์สิน โดยเมื่อชุดจับกุมเข้าตรวจค้น เมื่อยึดทรัพย์สินเจาะจงแล้ว ให้ค้นหาว่าผู้ถูกจับมีบัญชีธนาคารหรือไม่ เพื่อมาดำเนินการเสนอยึดทรัพยสินตามมูลค่า ซึ่งจะส่งผลให้ตัวชี้วัดในเรื่องการดำเนินงานยึดอายัดทรัพย์สินของจังหวัดสิงห์บุรี มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. ประธานมีข้อสั่งการดังนี้
1) ขอความร่วมมือให้แต่ละอำเภอ เพิ่มการลงพื้นที่ ไปตรวจสถานบันเทิง สถานประกอบการ  ตามที่ ผู้แทน ปปส.ภ. 1 ขอความร่วมมือเพิ่มความเข้มข้นในการขับเคลื่อนงานและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 6 เดือนหลัง เพื่อเป็นการป้องปรามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่
2) ในการลงพื้นที่เพื่อค้นหาผู้เสพ ผู้ติด ควรให้ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาร่วมด้วย เพื่อจะได้ทราบถึงพฤการณ์ของลูกบ้าน และเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดในพื้นที่ต้องทราบดีถึงปัญหาในพื้นที่
3) ให้สำนักงานพัฒนาชุมชน ดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน เพื่อค้นหา ผู้เสพ ผู้ติด โดยใช้กระบวนการกองทุนแม่ฯ โดยร่วมกับฝ่ายปกครองอำเภอ
4) ขอให้ทุกหน่วยช่วยกันเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม กวาดล้างยาเสพติด โดยใช้มาตรการ Re-X- Ray แบบเข้มข้น เพื่อให้สิงห์บุรี เป็นเมืองที่น่าอยู่

YouTube Instagram TikTok X Threads search download
Q&A FAQ