Faq
ปัจจุบันความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติด กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔
ปัจจุบันได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้ว
กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการประกาศกำหนดรายชื่อยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภทต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบได้ที่ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เว็บไซต์ https://narcotic.fda.moph.go.th/
“ยาบ้า” หรือเมทแอมเฟตามีน จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ พ.ศ. ๒๕๖๕ (ลำดับที่ ๕๓) ซึ่งการครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๔๕ ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุด จำคุกตั้งแต่ ๕ ปี ถึง จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ ๕๐๐,๐๐๐ ถึง ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท หรือประหารชีวิต ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์และความร้ายแรงในการกระทำความผิด นอกจากนี้ การครอบครองยาบ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต จัดเป็นความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งนอกจากจะได้รับโทษอาญาดังกล่าวแล้ว ผู้กระทำความผิดยังต้องถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบตามมาตรการตรวจสอบทรัพย์สินด้วย
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
การซื้อขายน้ำต้มใบกระท่อมสามารถทำได้ แต่ผู้ขายต้องติดป้ายประกาศห้ามขายน้ำต้มใบกระท่อม
ตามมาตรา 24 แห่ง พรบ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2565 ห้ามขายให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
1. บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. สตรีมีครรภ์
3. สตรีให้นมบุตร
และห้ามขายน้ำต้มใบกระท่อมแบบผสม
กระท่อมไม่ถือเป็นพืชเสพติด โดยถูกปลดจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564
การเสพยาบ้า มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๖๒ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้เสพถูกเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตรวจพบ หากผู้นั้นสมัครใจและเข้ารับการบำบัดรักษาจะครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะไม่มีการดำเนินคดีกับผู้นั้น
ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ลำไส้อุดตัน คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย เซื่องซึม กดการหายใจ ไตวาย ส่งผลกับยาที่รับประทานอยู่ เกิดภาวะถุงท่อม เกิดภาวการณ์เสพติด