อาเซียนปลอดยาเสพติด 2558

ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN) โดยประกาศปฏิญญาสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Declaration) หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่ง ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้นเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย ต่อมาประเทศบรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2527 ประเทศเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม 2538 ประเทศลาวและเมียนมาร์เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 8 และลำดับที่ 9 ตามลำดับเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และประเทศกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ส่งผลให้อาเซียนกลายเป็นองค์การฯ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งภูมิภาค โดยมีประชากรรวมกว่า 592 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมต
ต่อมาประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” ซึ่งเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2563 โดยจะประกอบด้วย 3 เสาหลัก (pillars) ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) หลังจากนั้นเมื่อเดือนธันวาคม 2558 ผู้นำอาเซียนเห็นชอบร่วมกันที่อาเซียนควรจะมีกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เพื่อเป็นธรรมนูญของอาเซียนและทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล และ วางกรอบกฎหมายตลอดจนโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน ต่อมาในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2550 ผู้นำอาเซียนได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เสร็จในปี 2558 และกฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551