ข่าวผู้บริหาร
เลขาธิการ ป.ป.ส. ลงพื้นที่มอบทุนประกอบอาชีพผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด มอบนโยบายและขับเคลื่อนการทำงานยาเสพติดในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง

Info18050201_OR9_1.jpg 

 

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2561 เวลา 10.30 น. นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) เป็นประธานในพิธีมอบทุนประกอบอาชีพให้แก่ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง พร้อมด้วย นายไกรศร วิศิษฐ์วงศ์ รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พล.ต.ต.ปรีดา เปี่ยมวารี ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา นายราชิต สุดพุ่ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พ.ต.อ.ชัย ณรงค์ สุตสม รองผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4 ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมพื้นที่จังหวัดสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ นางสุจิตรา รัตนเสวี ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดพัทลุง นายภักดี แก้วเนียม ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดสงขลา นายปวัน พรหมพิทักษ์ พัฒนาการจังหวัดสงขลา นายเผด็จ หริ่งรอด ผู้อำนวยการทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา นายธีรเดช แสงจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดสงขลา สาขานาทวี นางนุสรา วงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสงขลา และนางนิภา งามไตรไร ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดสงขลา โดยมีผู้เข้ารับทุนประกอบอาชีพฯ ครั้งนี้ จำนวน 59 ราย จากองค์กรภาคประชาชนที่ขอรับทุนฯ 14 องค์กร ณ โรงแรมบีพี สมิหลาบีช อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

สำนักงาน ป.ป.ส. มีนโยบายในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน 4 มาตรการหลัก ได้แก่  1) การป้องกัน 2) การปราบปราม 3) การบำบัดรักษา 4) การบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ตามแผนประชารัฐร่วมใจ ปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ.2561 โดยด้านการบำบัดรักษานั้น ยึดหลักแนวคิด "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย" มุ่งเน้นการให้โอกาส ผู้หลงผิดเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้กลับตัวกลับใจ สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมทั่วไปได้ตามปกติโดยไม่กลับไปเสพยาเสพติดอีกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเน้นไปที่ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูทั้ง 3 ระบบ คือ ระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ และได้กำหนดแผนงานช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มาตั้งแต่ปี 2559 โดยให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา การฝึกวิชาชีพ  การจัดหางานให้ทำ รวมถึงการสนับสนุนทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้โอกาสผู้ผ่านการบำบัดรักษานำทุนไปประกอบอาชีพ ที่สุจริต สามารถช่วยเหลือตนเองและครอบครัวให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่กลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก ซึ่งมีผู้ที่ได้รับทุนประกอบอาชีพแล้ว จำนวน 1,927 ราย สำหรับในปี 2561 ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมีผู้รับทุนฯ รวม 59 ราย รายละประมาณ 20,000 บาท

จากนั้น เวลา 13.30 น. เลขาธิการ ป.ป.ส. ได้มอบนโยบายและแนวทางเกี่ยวกับการทำงานยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้กับเจ้าหน้าที่สมาคมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นภาคประชาชนที่ทำงานด้านการป้องกันยาเสพติดร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ส. มาตั้งแต่ปี 2547 ตามแนวนโยบายของสำนักงาน ป.ป.ส. ที่เน้นการส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 82 คน โดยสมาคมฯ ดังกล่าว มีพื้นที่ปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.นราธิวาส และใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อ.จะนะ อ.เทพา อ.นาทวี และ อ.สะบ้าย้อย

และเวลา 15.30 น. เลขาธิการ ป.ป.ส. รับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานและเยี่ยมชมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกองบิน 56

นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า "การลงพื้นที่ในครั้งนี้ มี 3 ภารกิจสำคัญ คือ ภารกิจแรกเพื่อมอบทุนประกอบอาชีพให้กับผู้ที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ภายใต้ประกาศ คสช. ฉบับที่ 108/2557 และแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนตามแผนประชารัฐร่วมใจ ปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ.2561 ยึดหลักแนวคิด "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย" ซึ่งนอกจากรัฐบาลจะมีนโยบายในการให้โอกาส ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดได้เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟู โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดแล้ว ยังให้โอกาสผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดและผู้พ้นโทษที่กลับตัวกลับใจได้แล้วนั้นได้รับทุนประกอบอาชีพเพื่อให้มีอาชีพช่วยเหลือตัวเองและครอบครัวให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติและไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดอีก ภารกิจที่สองารมอบนโยบายและแนวทางการทำงาน รวมถึงการรับฟังปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สมาคมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ทำงานด้านการป้องกันยาเสพติดร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ส. ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลากว่า 10 ปี ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา โดยมีการขับเคลื่อนกิจกรรมป้องกัน ยาเสพติดที่สำคัญ คือ 1) กิจกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนให้กับกลุ่มสตรีและกลุ่มเยาวชน 2) กิจกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับกลุ่มเยาวชนในสถานศึกษาในพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียนประถมโรงเรียนมัธยม สถาบันปอเนาะ และโรงเรียนตาดี 3) กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนอ่านคุตบะห์ทุกวันศุกร์เพื่อสร้างจิตสำนึกในการห่างไกลยาเสพติดโดยใช้หลักศาสนา และ 4) กิจกรรมการสร้างให้ความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนทั่วไปในเรื่องยาเสพติด โดยรณรงค์ประชาสัมพันธ์ยาเสพติดผ่านสื่อวิทยุ ภารกิจที่สาม คือ การรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงานและเยี่ยมชมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกองบิน 56"

 

Info18050201_OR9_2.jpg Info18050201_OR9_3.jpg 

Info18050201_OR9_4.jpg Info18050201_OR9_5.jpg

Info18050201_OR9_6.jpg Info18050201_OR9_7.jpg

Info18050201_OR9_8.jpg Info18050201_OR9_9.jpg

Info18050201_OR9_10.jpg Info18050201_OR9_11.jpg

Info18050201_OR9_12.jpg Info18050201_OR9_14.jpg

.........

ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย "สมัครใจเข้าบำบัด ไม่เสียประวัติ ไม่มีความผิด"

แจ้งเบาะแสยาเสพติด สายด่วน ป.ป.ส. โทร.1386



โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น
1. โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
2. ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการเว็บไซต์ และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3. ทีมงานเว็บมาสเตอร์ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
4. เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปตามกฎกติกาที่วางไว้ ทางผู้จัดการออนไลน์ได้ปรับปรุงระบบการกรองคำให้เข้มงวดยิ่งขึ้น
กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
5. ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นสามารถร่วมตรวจสอบข้อความที่ไม่เหมาะสมได้ โดยการกดปุ่ม "แจ้งลบ" หรือส่งอีเมลแจ้งมาที่ webmaster@oncb.go.th
ซึ่งทีมงานจะทำการตรวจสอบ และลบข้อความดังกล่าวโดยเร็วที่สุด หรืออย่างช้าภายใน 3 วันทำการ
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม :
ชื่อ/e-mail ของคุณ :


 


ข่าวล่าสุด